ประวัติของการเปิดหลักสูตรเทคนิคการแพทย์ในประเทศไทย
ศาสตราจารย์ นพ.วีกูล วีรานุวัตติ์ ปีพุทธศักราช 2487 คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลปัจจุบันขาดแคลนบุคลากรที่จะทำการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการจึงโยกย้ายนพยาบาลบางส่วนมาฝึกหัดตรวจวิเคราะห์ก่อให้เกิดปัญหาการใช้บุคลากรไม่ตรงตามเป้าหมายการผลิตหลวงลิปิธรรมศรีพยัตต์ (ลิ ศรีพยัตต์) ซึ่งดำรงตำแหน่งคณะบดีคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาลขณะนั้นได้นำปัญหาดังกล่าวเสนอพระอัพภันตราพาธพิลาศ (กำจร พลางกูร)อธิบดีกรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์จึงได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นพิจารณาปัญหาและร่างหลักสูตรเพื่อผลิตบุคลากรที่ตรงตามสายงาน แต่โครงการต้องระงับไปเพราะขาดแคลนงบประมาณเนื่องจากอยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองพอดี
ปีพุทธศักราช 2497 หลวงเฉลิมคัมภีรเวชช์ ( ศาสตราจารย์ นพ.เฉลิม พรมมาส) อธิบดีกรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์คนต่อมา ได้รื้อฟื้นโครงการขึ้นมาใหม่โดยขอความช่วยเหลือจากองค์การบริหารวิเทศกิจแห่งสหรัฐอเมริกา ( USAID ในปัจจุบัน) ซึ่งได้รับการตอบสนองให้ความสนับสนุนด้วยดีทางมหาวิทยาลัยจึงร่างหลักสูตรตามแบบที่ใช้ในประเทศอเมริกาขณะนั้นคือรับบุคคลที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มาฝึกอบรมระดับอนุปริญญาต่ออีก 3 ปี และเพื่อเตรียมความพร้อมในหลักสูตรดังกล่าว ในปี พ.ศ. 2498 มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ได้ส่ง นพ. วีกูล วีรานุวัตติ์ และ นพ. เชวง เดชะไกศยะ ไปศึกษาดูงานเกี่ยวกับเทคนิการแพทย์ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นเวลา 1 ปี
ศ.นพ.เชวง เดชะไกศยะผู้บริหารโรงเรียนเทคนิคการแพทย์ ซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็นคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ รุ่นแรกมี ศ.นพ. วีกูล วีรานุวัตติ์ เป็นคณบดีและหัวหน้าภาควิชาเคมีคลินิกไปด้วย ส่วนศ.นพ. เชวง เดชะไกศยะ เป็นรองคณบดีและหัวหน้าภาควิชาคลินิคัลไมโครสโคปี เป็นผู้ดูแลบริหารงานคณะเทคนิคการแพทย์ส่วนที่ตั้งอยู่ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยคณะเป็นผู้ให้บริการห้องปฏิบัติการกลางแก่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ด้วย จนกระทั่งถูกคำสั่งคณะปฏิวัติสั่งโอนไปเป็นภาควิชาเวชศาสตร์ชันสูตร
ในคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ในพ.ศ. 2514 และศ.น.พ.เชวง เดชะไกศยะ ยังได้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชา อยู่ระยะหนึ่งจึงเปลี่ยนเป็นท่านอื่น และเป็นที่น่าเสียใจ ีทั้งสองท่านได้ล่วงลับไปแล้วจึงขอนำรูปของท่าน มาให้คนรุ่นหลังได้รู้จักกันองค์การบริหารวิเทศกิจแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาได้ให้ความเห็นชอบโครงการผลิตบุคลากร เพื่อทำการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการที่มหาวิทยาลัยแพทย์ขอรับการสนับสนุน โดยได้ลงนามให้ความช่วยเหลือ
เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2499 และเริ่มก่อสร้างโรงเรียนเพื่อฝึกอบรมขึ้นที่คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ และที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ พร้อมกันนั้นองค์การบริหารวิเทศกิจแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ส่ง Dr.Robert W.Prichard มาเป็นที่ปรึกษาโครงการ โดยมี นพ. สวัสดิ์ แดงสว่าง , พันโทนิตย์ เวชชวสิสติ , ศาสตราจารย์ นพ. กำธร สุวรรณกิจ และ นพ.วีกูล วีรานุวัตติ์เป็นคณะกรรมการร่างหลักสูตรขึ้นมาใหม่ ซึ่งได้ใช้ชื่อว่า " เทคนิคการแพทย์ " หลักสูตรในระยะแรก ตั้งแต่รุ่นที่2 ถึงรุ่นที่ 7 มีการสอนถ่ายภาพเอกซ์เรย์และล้างฟิล์มร่วมด้วยนักศึกษาเทคนิคการแพทย์รุ่นแรกของประเทศไทยรับโอนมาจากนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มาเรียนเตรียมเทคนิคการแพทย์ปีที่ 1 โดยใช้สถานที่และอาจารย์ของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์(คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปัจจุบัน)ซึ่งนักศึกษาเทคนิคการแพทย์รุ่นแรกของ ประเทศไทยมีเพียง 5 คนเท่านั้น
วันที่ 13 พฤษภาคม 2499 มีประกาศกฤษฎีกาจัดตั้ง " โรงเรียนเทคนิคการแพทย์ " สังกัดมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข (ลงในหนังสือราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 73 ตอนที่ 40 วันที่ 15 พ.ค.2499) โดยมีภารกิจหลัก 2 ประการคือจัดการเรียนการสอนเพื่อผลิตนักเทคนิคการแพทย์และให้บริการตรวจทางห้องปฏิบัติการแก่ผู้ป่วยของโรงพยาบาลศิริราชและโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ นักศึกษาเทคนิคการแพทย์รุ่นแรกของประเทศไทย สำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญาเทคนิคการแพทย์ (อทกพ.) เมื่อเดือนมีนาคม 2500 ภาพถ่ายประวัติศาสตร์ ยังมีชื่อ " โรงเรียนเทคนิคการแพทย์ " ปรากฏอยู่ด้านหลัง ต่อมา มีประกาศกฤษฎีกาจัดตั้ง " คณะเทคนิคการแพทย์ " เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2500 ( ลงในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 74 ตอนที่ 60 วันที่ 9 ก.ค. 2500) โดยมี นพ.วีกูล วีรานุวัตติ์ เป็นคณบดีท่านแรก ซึ่งนับเป็นการเปิดหน้าประวัติศาสตร์เทคนิคการแพทย์ในประเทศไทยนับแต่นั้นเป็นต้นมา
ปีพุทธศักราช 2503 คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ได้ปรับขยายหลักสูตรจากอนุปริญญา เป็นระดับปริญญาตรี ( ปรับก่อนประเทศสหรัฐอเมริกาถึง 2 ปี) โดยรับนักศึกษาอนุปริญญาปีสุดท้ายที่มีคะแนนตลอดหลักสูตรเกิน 70% มาศึกษาต่ออีก 1 ปี ได้วุฒิวิทยาสตรบัณฑิต ( เทคนิคการแพทย์) ซึ่งบัณฑิตรุ่นแรกที่มีคุณวุฒิ วท.บ. (เทคนิคการแพทย์)มีเพียง 3 คนเท่านั้น จากวันนั้น ถึงวันนี้ วิชาชีพเทคนิคการแพทย์ของเราได้หยั่งรากลึกในหน้าประวัติศาสตร์มาแล้วกว่าสี่ทศวรรษ จากคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ เพียงแห่งเดียวได้แตกดอกออกกอไปสู่มหาวิทยาลัยอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมากจากบัณฑิตรุ่นแรกทีมีเพียง 3 คน ได้เพิ่มจำนวนขึ้นเป็นหลายพันคนกระจายกันออกไปรับใช้สังคมอยู่ในส่วนต่างๆ ของประเทศนี่ย่อมเป็นประจักษ์พยานบ่งชี้ว่า วิชาชีพเทคนิคการแพทย์มีบทบาทสำคัญต่อระบบสุขภาพของคนไทยมาช้านานแล้ว ( เรียบเรียงจากหนังสือรับน้องเทคนิคการแพทย์มหิดล รุ่นที่ 46 และรุ่นที่ 47)
" พวกเราชาวเทคนิคการแพทย์ ทั้งหลาย บางท่าน อาจไม่ทราบความจริงว่า
เราได้ต่อสู้ทุกวิถีทาง โดยเฉพาะท่านอดีตคณบดีฯ (ศ.นพ. วีกูล วีรานุวัตติ์ )
ได้เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งบุกเบิก ต่อสู้ด้วยความวิริยะอุตสาหะ
จนกระทั่งพวกเราได้มีวันนี้ และหวังว่าท่านทั้งหลาย คงจะต้องต่อสู้กันต่อไป
ด้วยความพากเพียร เพื่อให้วิชาชีพ ของพวกท่านทั้งหลาย ได้เจริญรุ่งเรือง
ก้าวหน้าต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง
" ศ.นพ. เชวง เดชะไกศยะ หนึ่งในผู้วางรากฐานวิชาชีพ
(ตัดตอนจากบทความเรื่อง " 30 ปีของเทคนิคการแพทย์ " อนุสรณ์ครบรอบ 30คณะเทคนิคการแพทย์มหิดล)
ประวัติศาสตร์ของเรา เริ่มต้นมาอย่างยาวนานมีบุคคลสำคัญที่คอยประคับประคองเกื้อหนุนให้วิชาชีพของเราพัฒนา ก้าวหน้าเรื่อยมาหากไม่มีก้าวแรกแห่งการเสียสละ อุทิศกายใจ ของใครบางคนเมื่อหลายทศวรรษก่อนย่อมไม่มีก้าวที่สอง , สาม , สี่... ที่ก้าวมาถึงปัจจุบันได้
|